ThaiNewsThaiNews

【ฝันเห็นปลามังกร】ส่องปัญหาขยะ ‘แยกอย่างไร ดีต่อใจ ดีต่อโลก’ | เดลินิวส์

“ขยะ” ปัญหาที่ทุกคนให้ความสำคัญในเวที SX TALK SERIES ครั้งที่5 ชวนมีส่วนร่วมลดขยะ เรียนรู้การแยกขยะอย่างถูกวิธี เพื่อลดปัญหาขยะ (ล้น) เมือง ก่อนจะสายเกินแก้ โดย 3 วิทยากร พรพรหม ณ.ส.วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารด้านความยั่งยืนกรุงเทพมหานคร สินชัย เทียนศิริ PEFC Paper Packaging Market Engagement Consultant (Thailand) และ กวีนา ศรีวิโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญ 2 สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIPMSE ให้ความรู้ ชวนร่วมลดขยะ

ส่องปัญหาขยะแยกอย่างไรดีต่อใจดีต่อโลกเดลินิวส์

พรพรหม ณ.ส.วิกิตเศรษฐ์ กล่าวถึงภาพรวมขยะของกทม.ว่า ขยะเศษอาหารถือเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อนำไปเทรวมกับขยะประเภทอื่น ทำให้เกิดขยะปนเปื้อนและจัดการได้ยาก กทม.จึงจัดทำนโยบายแยกขยะเป็นสองประเภท ได้แก่ ขยะเศษอาหาร และขยะทั่วไปสนับสนุนนโยบายดังกล่าวนับตั้งแต่ระดับครัวเรือน กิจการขนาดเล็ก ไปจนถึงสถานประกอบการขนาดใหญ่ให้แยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และจัดการอย่างถูกวิธี โดยแยกขยะเปียกออกจากขยะแห้ง ซึ่งจะทำให้จัดการได้ง่าย อย่างเช่น ขยะเศษอาหาร สามารถนำไปทำปุ๋ย หรือส่งต่อให้เกษตรกรไปทำเป็นอาหารสัตว์ โดยที่ผ่านมา กทม.ร่วมเชื่อมต่อระหว่างผู้ประกอบการและเครือข่ายเกษตรกรซึ่งมีสถานประกอบการเข้าร่วมกว่าสามพันแห่ง โดยแยกขยะเศษอาหารได้ 277 ตันต่อวัน และมีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนมากขึ้น

ส่องปัญหาขยะแยกอย่างไรดีต่อใจดีต่อโลกเดลินิวส์

ขณะที่ สินชัย เทียนศิริ ให้มุมมองการแยกขยะอย่างไร ให้เหมาะกับวิถีคนเมือง มองว่า ทุกวันนี้เราสามารถเข้าถึงความรู้เรื่องการแยกขยะได้จากหลายช่องทาง โดยถ้าทุกคนเข้าใจถึงหลักคิด Circular Economy เริ่มต้นที่การเปลี่ยนแปลงตัวเอง ลงมือทำแล้วเปลี่ยนให้เป็นวิถีชีวิตประจำวัน มีจิตสำนึกสาธารณะจะสามารถสร้างสังคมแห่งความยั่งยืน (Sustainable Society) โดยสิ่งสำคัญคือการสร้าง Mindset ทัศนคติ ตระหนักรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง

ส่องปัญหาขยะแยกอย่างไรดีต่อใจดีต่อโลกเดลินิวส์

“ถ้ามีความเข้าใจจะช่วยให้มีความสำเร็จและยั่งยืนมากขึ้น อย่างการซื้อสินค้าสิ่งที่มากับสินค้าคือบรรจุภัณฑ์ เราจะมีวิธีการจัดการอย่างไรให้สุดท้ายไม่กลายเป็นขยะ หาวิธีจัดการ รับผิดชอบตัวเอง เปลี่ยนสิ่งที่จะเป็นภาระให้เป็นภารกิจของเรา ทำอย่างไรให้วัสดุที่ใช้แล้ว สิ่งที่จะเป็นขยะคืนกลับมาเป็นวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต ทุกคนสามารถร่วมออกแบบการจัดการของตนเอง ให้มีคุณค่าทั้งต่อตนเองและผู้อื่นได้ ร่วมแก้ไขจัดการขยะที่เกิดขึ้นได้โดยมีความยั่งยืน”

ส่องปัญหาขยะแยกอย่างไรดีต่อใจดีต่อโลกเดลินิวส์

ในวันนี้มีความดีใจที่คนรุ่นใหม่เข้ามาให้ความสำคัญ สนใจในเรื่องปัญหาขยะ และมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสที่อาจนำไปต่อยอดเป็นธุรกิจ อยากให้มองว่าการจัดการขยะ อย่ามองว่าเป็นภาระของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นภารกิจของเรา เป็นฟันเฟืองที่ร่วมกันรับผิดชอบ ไม่ส่งต่อภาระให้กับคนอื่น

ส่องปัญหาขยะแยกอย่างไรดีต่อใจดีต่อโลกเดลินิวส์

ทางด้าน กวีนา ศรีวิโรจน์ กล่าวถึงปลายทางของขยะแต่ละประเภทและการจัดการอย่างถูกวิธีอีกว่า ปลายทางขยะทุกประเภทมีที่มาที่ไปต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป หรือขยะอันตราย ทุกประเภทมีที่ไป ซึ่งขึ้นอยู่กับเราว่าจะมีวิธีจัดการขยะอย่างไร อย่างเช่น ขยะอินทรีย์ เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ จำพวกเศษอาหาร กิ่งไม้ ใบไม้ สามารถนำไปทำปุ๋ยหรืออาหารสัตว์ นำไปแปลงเป็นพลังงาน ฯลฯ

ส่องปัญหาขยะแยกอย่างไรดีต่อใจดีต่อโลกเดลินิวส์

“บรรจุภัณฑ์ใช้แล้วอย่างเช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก กระป๋อง ฯลฯ สามารถนำไปรีไซเคิล หรือบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ สามารถนำไปอัปไซเคิล เพิ่มมูลค่าได้ เราทุกคนมีหน้าที่ร่วมกันจัดการปัญหาขยะได้ ขยะทุกประเภทมีทางไปขึ้นอยู่กับเราทุกคน ทั้งนี้หากให้แนะนำการคัดแยก ก็คงต้องเรียนรู้ว่าในพื้นที่ของเรามีการจัดการขยะแบบใดบ้าง อย่างเช่น บางพื้นที่มีร้านรับซื้อกระดาษ รับซื้อกระป๋องหรือขวดนํ้า ฯลฯ หรือมีโครงการคัดแยกขยะ มีโครงการธนาคารขยะก็สามารถคัดแยกขยะเพื่อร่วมส่งขยะไปถึงปลายทาง โดยแยกเป็นขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ฯลฯ แยกตามที่ปลายทางต้องการซึ่งก็จะช่วยลดปัญหาขยะลงได้”

ส่องปัญหาขยะแยกอย่างไรดีต่อใจดีต่อโลกเดลินิวส์

อย่างไรก็ตามเบื้องต้นคงต้องให้ความสำคัญกับ การแยกขยะอินทรีย์ออกมาจากขยะอื่น ๆ ไม่มีขยะเศษอาหารปะปน ขณะที่ขยะอันตรายก็แยกจัดการอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้ปริมาณขยะที่มีอยู่ลดน้อยลง โดยคงต้องร่วมกันขับเคลื่อนนับแต่ต้นทาง กลางทางและปลายทางก็จะทำให้การจัดการขยะเป็นผลอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น.

ส่องปัญหาขยะแยกอย่างไรดีต่อใจดีต่อโลกเดลินิวส์
赞(9)
未经允许不得转载:>ThaiNews » 【ฝันเห็นปลามังกร】ส่องปัญหาขยะ ‘แยกอย่างไร ดีต่อใจ ดีต่อโลก’ | เดลินิวส์